แพทย์จะเปิดแผลเล็ก 0.5-1 ซม. เพื่อสอดกล้องส่องและเครื่องมือเข้าไปในช่องท้อง ทำการตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งพร้อมกับต่อมน้ำเหลืองในบริเวณที่เป็นมะเร็งออกด้วยการดูภาพจากจอมอนิเตอร์ เมื่อตัดและนำลำไส้ใหญ่และเนื้องอกออกหมดแล้วแพทย์จะเย็บต่อลำไส้ใหญ่ส่วนที่ไม่ได้ตัดออกเข้าด้วยกันหรือต่อลำไส้ส่วนที่เหลือมาเปิดที่หน้าท้อง หรือต่อลำไส้เล็กเข้ากับรูทวารหนักขึ้นอยู่กับว่ามีสำไส้ใหญ่ส่วนดีเหลืออยู่มากน้อยเพียงใดเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
การส่องกล้องผ่าตัดลำไส้ใหญ่ เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกไปบางส่วนหรือทั้งหมดโดยทำเพื่อรักษาภาวะต่างๆที่เกิดกับลำไส้ใหญ่ เช่น
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลำไส้อุดตัน
- ภาวะเลือดออกมากผิดปกติในลำไส้ใหญ่
- โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
- ติ่งเนื้อชนิดก่อนเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่
- ภาวะทางพันธุกรรม เช่น ลินช์ซินโดรม (Lynch syndrome) หรือ โพลีโพซิส (Polyposis)
การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องผ่าตัดลำไส้ใหญ่
- เข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลนครินทร์ เพื่อนัดวันตรวจ และรับคำแนะนำ
หลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่
หลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจต้องนอนโรงพยาบาลนาน 3-7 วัน และในระหว่างนี้ยังไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้นได้ ส่วนใหญ่แล้วต้องพักฟื้นประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- 3 วันก่อนตรวจ งดผักผลไม้ทุกชนิดและเนื้อสัตว์ อาหารที่รับประทานได้คืออาหารอ่อนย่อยง่าย ข้าวสวย ข้าวต้ม ไข่ ปลา เต้าหู้
- 1 วันก่อนตรวจ งดผักผลไม้ทุกชนิดและเนื้อสัตว์ ทานอาหารเหลว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุปใส งดรับประทานอาหารและน้ำที่มีสีดำ-แดง
- คืนก่อนรับการส่องกล้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับยาระบายตามคำสั่งแพทย์ โดยยาระบายจะช่วยกระตุ้นลำไส้และทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อย
ควรดื่มน้ำหลังถ่ายอุจจาระ ทดแทนน้ำที่เสียไป
- งดน้ำ งดอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนรับการส่องกล้องผ่าตัด
- ก่อนตรวจแพทย์จะให้ยาเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ผู้ตรวจรู้สึกผ่อนคลายและทำให้ง่วงนอนหรือหลับ
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เพราะแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาบางตัวก่อนการผ่าตัด