ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุง และทำหน้าที่เก็บน้ำดีที่สร้างจากตับไว้เพื่อรอเวลาบีบตัวปล่อยน้ำดีลงมาช่วยย่อยอาหาร
น้ำดีในถุงน้ำดีจึงมีโอกาสตกค้างในถุงน้ำดีเป็นเวลานานๆ ก่อนที่จะถูกปล่อยออกมาจากถุงน้ำดี หากส่วนประกอบในน้ำดีผิดปกติ จะทำให้เกิดมีการตกตะกอนและรวมตัวกันเป็นก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งมีลักษณะเป็นสิ่งแปลกปลอมในถุงน้ำดีเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรคและตัวนิ่วจะทำให้มีการบาดเจ็บที่ผนังถุงน้ำดีเรื้อรังทำให้เกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง เป็นผลให้การบีบตัวของถุงน้ำดีผิดปกติทำให้น้ำดีลงมาที่ลำไส้เล็กลดลง ในบางกรณีนิ่วในถุงน้ำดีอาจไปอุดกั้นท่อถุงน้ำดีทำให้น้ำดีไม่สามารถผ่านลงไปยังท่อน้ำดีได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจุก
บริเวณชายโครงขวาเวลากินอาหาร ร่วมกับมีอาการท้องอืดหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่
นิ่วในถุงน้ำดีอาจทำให้เกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวามากร่วมกับอาการไข้
และอาจทำให้เกิดถุงน้ำดีเป็นหนองและแตกทะลุได้ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน นิ่วในถุงน้ำดียังอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผนังถุงน้ำดีเรื้อรังซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งของถุงน้ำดีได้ แม้โอกาสจะไม่สูงมากก็ตาม ดังนั้น หากตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีร่วมกับมีอาการท้องอืดหลังกินอาหาร ไขมัน ถือเป็นข้อบ่งชี้ในการเข้ารับการรักษา
ใครบ้างเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
โรคนิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 - 60 ปี โดยกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- เพศหญิง 40 ปีขึ้นไป
วิธีการส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี
แพทย์จะทำการเจาะแผลเล็กๆ บริเวณสะดือและชายโครงขวา เพื่อสอดกล้องขนาดเล็กและเครื่องมือเข้าไปตรวจดู นิ่วในถุงน้ำดี
จากนั้นจึงทำการตัดเลาะถุงน้ำดีออกจากตับ เมื่อเสร็จแล้วก็ดึงเครื่องและกล้องออกทำการเย็บปิดแผลที่ผิวหน้าท้องให้เรียบร้อย แผลจึงเล็กและเจ็บน้อย เป็นอันจบขั้นตอนการรักษา
การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
- เข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะที่โรงพยาบาลนครินทร์และรับคำแนะนำ
การดูแลตนเองหลังการส่องกล้องผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
- ควรระวังไม่ให้แผลเปียกชื้นห้ามแกะหรือเกาแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและเป็นหนอง
มีดังนี้
- ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก
- คอเลสเตอรอลสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคเลือด โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย
- ตั้งครรภ์หลายครั้ง
- กินยาคุมกำเนิด
- ทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน
- ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
- พันธุกรรมมีประวัติคนในครอบครัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี (เสี่ยง 2 เท่าของคนปกติ)
- งดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนการส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ
- หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำให้นำยามาโรงพยาบาล
- ขณะไอหรือจามควรใช้มือประคองแผลเพื่อลดภาวะการตึงของแผล
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบรวมทั้งผัก ผลไม้และดื่มน้ำมากๆ