Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap


Cinque Terre
 การส่องกล้องผ่าตัดไส้เลื่อน (Laparoscopic Herniorrhaphy)

            ไส้เลื่อน  คือภาวะที่ผนังหน้าท้องยืดโป่งเป็นรูเป็นโพรงทำให้ลำไส้บางส่วนเลื่อนไหลออกมาจากช่องท้องมาติดค้าง
ในโพรงหรือช่องบริเวณผนังหน้าท้อง เห็นเป็นก้อนปูดตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง อีกทั้งยังเกิดได้ในบริเวณอื่น เช่น ต้นขา หรือขาหนีบ โดยมากแล้วเมื่อเป็นไส้เลื่อนมักเกิดอาการปวด ในกรณีที่ไม่พบว่ามีก้อนปูดคนไข้ก็จะไม่รู้ตัวว่าเป็นไส้เลื่อน และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ลำไส้บริเวณนั้นก็อาจขาดเลือดและเน่าตายได้
            ไส้เลื่อนเกิดขึ้นได้ในหลายส่วนของร่างกายคนทั่วไปมักเข้าใจว่าไส้เลื่อนจะเกิดเฉพาะที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะแต่ในความเป็นจริงแล้วไส้เลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายบริเวณ และเกิดได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่น
            - ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบมักพบในเพศชาย ซึ่งถ้าเป็นมากๆ อาจกลายเป็นไส้เลื่อนถุงอัณฑะ
            - ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ
            - ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อและผังพืดที่เกิดจากการผ่าตัดหย่อนยาน
            - ไส้เลื่อนที่สะดือ มักเป็นตั้งแต่แรกเกิดและจะหายได้เองเมื่ออายุ 2 ปี
            - ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ
            - ไส้เลื่อนกระบังลม ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดกระบังลมหย่อนยาน
            - ไส้เลื่อนบริเวณใต้ขาหนีบ ซึ่งมักเป็นในเพศหญิง
            - ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งมักพบในเพศหญิง
            การผ่าตัดส่องกล้องไส้เลื่อน ทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดผ่านชั้นก่อนเข้าช่องท้อง และการผ่าตัดเข้าช่องท้องโดยผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆขนาดประมาณ 1.5 ซม. 1 แผล และ 0.5 ซม. 2 แผล แพทย์จะดึงถุงไส้เลื่อนกลับเข้ามาในช่องท้อง วางแผ่นสังเคราะห์ปิด
โดยยึดไว้ด้วยหมุดโลหะ การผ่าตัดแบบนี้จะรบกวนเนื้อเยื่อน้อยกว่าลดโอกาสการเกิดพังผืดในช่องท้อง มีการปวดแผลหลังผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนน้อย ลดอัตราการเป็นซ้ำ และสามารถซ่อมไส้เลื่อนขาหนีบได้ทุกชนิดในข้างเดียวกันในการผ่าตัดเพียงครั้งหนึ่ง พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน ในบางคนสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังฟื้นตัวและภายใน 1 สัปดาห์ก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ หากไม่มีอาการเจ็บแผลอีกภายใน 2-4 สัปดาห์ ก็ออกกำลังกายหนักหรือเล่นกีฬาได้เลย

 การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องผ่าตัดไส้เลื่อน

- เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาศัลยกรรมที่โรงพยาบาลและรับคำแนะนำ
- งดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนการส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ
- หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำให้นำยามาโรงพยาบาล

 การดูแลตนเองหลังการส่องกล้องผ่าตัดไส้เลื่อน

- ระวังไม่ให้แผลเปียกชื้นจนกว่าจะตัดไหม
- ไม่แกะเกาบริเวณแผล เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือเป็นหนอง
- ขณะไอหรือจาม ให้ใช้ฝ่ามือหรือผ้าหนานุ่มกดประคองแผลไว้
- หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระและปัสสาวะ ควรระวังไม่ให้ท้องผูก
- งดทำงานหนักหรือยกของหนักอย่างน้อย 3 เดือนหลังผ่าตัด
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ถ้าเป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอจามบ่อยๆ ควรรีบพบแพทย์ เพราะการไอ จาม อาจจะกระทบต่อแผลผ่าตัด
- ใส่กางเกงในที่กระชับเพื่อช่วยประคองแผล ลดความเจ็บปวด
- ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรกินยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง
- หากพบว่ามีไส้เลื่อนเกิดซ้ำ แผลแยก บวม แผลมีน้ำเหลืองซึม มีไข้ ปวดท้อง ให้รีบไปพบแพทย์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่    075-312800-6,  075-450450-2 ต่อ 2117

แอดไลน์ โรงพยาบาลนครินทร์ @nakharinhospital หรือ คลิ๊ก

LINK ที่น่าสนใจ


   โรงพยาบาลนครินทร์
  jingle   61 ถ.อ้อมค่ายวชิราวุธ
ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

  jingle   075-312800-6 , 075-450450-2