Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap
Card image cap


Cinque Terre Cinque Terre
 การส่องกล้องผ่าตัด ไส้ติ่ง   (Laparoscopic Appendectomy)

            โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะพบในคนวัยหนุ่มสาวที่อายุไม่เกิน 30 ปีมากที่สุดสามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไส้ติ่งอักเสบมักแสดงอาการปวดใกล้เคียงกับอาการปวดท้องแบบอื่นๆ ฉะนั้นก็จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการปวดด้วย ส่วนใหญ่อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบจะเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น
            1.เริ่มจากผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องเหมือนปวดท้องทั่วไปและไม่รู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของความปวดว่าเกิดขึ้นบริเวณส่วนไหน
            2.อาการปวดจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นและเป็นอยู่นานราวๆ 6 ชั่วโมง แต่คราวนี้ความปวดจะเริ่มชัดเจนขึ้น จะรู้สึกปวดแบบบิดๆ รอบสะดือ และเริ่มมีอาการเหมือนคนท้องร่วงแต่ถ่ายไม่ออก อาจจะเริ่มมีไข้และมีการอาเจียนร่วม เบื่ออาหาร
            3ต่อมาอาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ผู้ป่วยจะปวดเสียดตลอดเวลา อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นจนทนไม่ไหว ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้
            4.ถ้าไส้ติ่งเริ่มติดเชื้อรุนแรง จะเกิดการเน่าและแตก สุดท้ายกลายเป็นฝีหนอง ระยะอาการปวดที่เกิดขึ้นมักจะไม่เกิน 3 วัน จากนั้นไส้ติ่งก็จะแตก

 สาเหตุโรคไส้ติ่งอักเสบี

            สาเหตุมาจากการอุดตันของไส้ติ่ง อาจมีเศษอุจจาระที่แข็งตัว สิ่งแปลกปลอม พยาธิ มีก้อนเนื้องอก หรือ เศษอาหารตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปซ้ำเติมจนทำให้เกิดอาการอักเสบขึ้นมา

 การส่องกล้องผ่าตัด ไส้ติ่ง

             แพทย์จะผ่าตัดเปิดช่องเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง แล้วสอดท่อขนาดเล็ก ซึ่งเป็นท่อบางๆ ที่มีความยาวมีหลอดไฟ และมีกล้องความละเอียดสูงอยู่ที่ปลายท่อ ซึ่งจะคอยส่งสัญญาณภาพให้แพทย์ผ่าตัดพบบริเวณที่เป็นไส้ติ่ง แล้วแพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษขนาดเล็กสอดเข้าไปในช่องเล็กๆ ที่ผ่าบริเวณหน้าท้อง เพื่อทำการตัดแล้วนำไส้ติ่งออกมา จากนั้น จึงทำความสะอาด เย็บปิด และตกแต่งบาดแผลทั้งหมด

 การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องผ่าตัด ไส้ติ่ง

- เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการสาขาศัลยกรรมที่โรงพยาบาลนครินทร์และรับคำแนะนำ
- งดน้ำและอาหาร8ชั่วโมงก่อนการส่องกล้อง
- หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำให้นำยามาโรงพยาบาล

 การดูแลตนเองหลังการส่องกล้องผ่าตัด ไส้ติ่ง

- หลังผ่าตัดไส้ติ่ง ผู้ป่วยมักจะอ่อนเพลีย จึงควรกินอาหารที่กลืนง่ายไม่ต้องเคี้ยว เช่น ซุปใส น้ำผลไม้ เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานน้อยที่สุดจะได้ไม่กระทบต่อแผลผ่าตัด
- วันต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นอาหารน้ำข้นเพื่อทดสอบการทำงานของอวัยวะในช่องท้องว่าทำงานปกติดีหรือไม่ หลังจากนั้นจึงตามด้วยอาหารอ่อนๆ ที่มีกากน้อย ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มปลา โจ๊ก โดยเนื้อสัตว์และผักที่อยู่ในอาหารจะต้องทำให้นุ่ม กินผลไม้สุก ไม่ทานอาหารรสจัด งดดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่    075-312800-6,  075-450450-2 ต่อ 2117

แอดไลน์ โรงพยาบาลนครินทร์ @nakharinhospital หรือ คลิ๊ก

LINK ที่น่าสนใจ


   โรงพยาบาลนครินทร์
  jingle   61 ถ.อ้อมค่ายวชิราวุธ
ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

  jingle   075-312800-6 , 075-450450-2